ของวิเศษ 好东西

น้องลิงมีของวิเศษอยู่อย่างหนึ่ง เป็นของวิเศษที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ของดีขนาดนี้ จะให้ใครเห็นไม่ได้เป็นอันขาด ถ้าทุกคนมาที่บ้าน จะทำยังไงดีล่ะ
ใช่สินะ เอาไปซ่อนไว้ดีกว่า เอาไปซ่อนในที่ที่ลับตาคนก็แล้วกัน
วันแรก น้องลิงเอาของวิเศษไปซ่อนไว้ในโพรงไม้
วันที่สอง น้องลิงเอาของวิเศษไปซ่อนไว้หลังก้อนหินข้างๆแม่น้ำ
วันที่สาม ……..
วันที่สี่ …………
น้องลิงซ่อนของวิเศษทุกวัน อยู่มาวันหนึ่ง ซ่อนเอาไว้จนกระทั่งแม้แต่ตัวน้องลิงเองก็หาของไม่เจอ
“ฮือ ๆ เจี๊ยก ๆ ” น้องลิงร้องไห้ด้วยความร้อนใจ
“ใครเห็นของวิเศษของฉันบ้าง ฮือ ๆ ”
“ของวิเศษเหรอ ของวิเศษนองนายเป็นแบบไหนเหรอ” น้องจิ๊บๆ บินเข้ามาถาม
น้องลิงบอกว่า “ ของ ของ ของวิเศษของฉันมีผมสีทอง…ฮือ ๆ ”
น้องจิ๊บๆ ได้ยินดังนั้นก็ตอบว่า “ตามฉันมา ฉันเห็นของวิเศษของนายแล้วล่ะ”
น้องจิ๊บๆ บินขึ้นบนฟ้า น้องลิงก็วิ่งตามไป น้องจิ๊บๆบินไป ๆ น้องลิงก็วิ่งไปๆ แล้วก็มาถึงที่หน้าถ้ำแห่งหนึ่ง
ท่านสิงโตจ้าวป่ากำลังนอนหลับอยู่ที่หน้าปากถ้ำ แสงอาทิตย์ส่องผมสีทองของสิงโตส่องประกายแวววาว
น้องจิ๊บๆ พูดกับน้องลิงว่า “นั่นไง ของวิเศษของนาย”
เสียงเอะอะทำให้สิงโตจ้าวป่าตื่นขึ้นมา ลืมตาขึ้นมามองจิ๊บๆกับน้องลิงด้วยความประหลาดใจ
น้องลิงรีบส่ายหัวบอกว่า “นี่ไม่ใช่ของวิเศษของฉัน ของ ของวิเศษของฉันสวมเสื้อเยอะๆ หลายๆชั้น”
บังเอิญมีเต่าตัวหนึ่งคลานต้วมเตี้ยมผ่านมา ได้ยินคำพูดของน้องลิง ก็เลยบอกว่า “ตามฉันมา ฉันเห็นของวิเศษของนาย”
เต่าหลังตุงคลานต้วมเตี้ยมๆ ไปข้างหน้า น้องลิงก็เดินตามไปด้วยความหวังว่าจะหาของวิเศษเจอไวๆ
เต่าหลังตุงพาน้องลิงไปถึงทุ่งกว้างแห่งหนึ่ง ชี้ไปที่ของสิ่งหนึ่งแล้วบอกว่า “นั่นน่ะ ของวิเศษของนายอยู่นั่นไง”
บนทุ่งหญ้า มีหน่อไม้ลำโตๆ หัวแหลมๆ เต่าหลังตุงคลานเข้าไปใกล้ๆ ปอกเปลือกหน่อไม้ออกแผ่นหนึ่ง ยังมีข้างในอีกหลายแผ่น หน่อไม้อ้วนๆ จริงๆแล้วเป็นเพราะว่าสวมเสื้อผ้าตั้งหลายชั้นนี่เอง
แต่น้องลิงก็ส่ายหัวบอกว่า “นี่ไม่ใช่ของวิเศษของฉัน ของ ของวิเศษของฉันมีไข่มุกอยู่เต็มตัวเลยล่ะ”
บรรดาสัตว์ตัวอื่นๆที่มามุงดู แต่ละตัวตากลมแป๋ว ว้าว มีไข่มุกทั่วทั้งตัวเลยเหรอ จะต้องเป็นของวิเศษมากๆเลยล่ะ แต่ว่า ของดีขนาดนี้ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อนเลย ก็เลยไม่รู้จะช่วยน้องลิงยังไงดี ไม่มีใครช่วยได้เลย
เป็นเพราะแบบนี้นี่เอง ของวิเศษของน้องลิงก็หายไป
แต่ผ่านไปไม่นาน ด้วยนิสัยร่าเริงสนุกสนานของน้องลิง ก็ทำให้มันลืมเรื่องเศร้าใจไปสนิท นั่นสินะ ทุกๆวันมีเพื่อนเล่นมากมาย มีเรื่องราวที่สนุกสนานให้ทำอยู่ทุกวัน ใครจะมัวมาคิดเรื่องที่ทำให้เศร้าใจล่ะ
วันแล้ววันเล่าผ่านไปเรื่อยๆ สวนหลังบ้านของน้องลิงมีกล้าไม้ต้นหนึ่งงอกขึ้นมา ในสวนดอกไม้ก็มีดอกไม้นานาชนิดงอกขึ้นมาเหมือนกัน ใครบ้างจะไปใส่ใจต้นกล้าเล็กๆแต่ละต้นว่าเป็นต้นอะไร
แต่ว่า ในวันหนึ่งของฤดูร้อน เมื่อน้องลิงกับเพื่อนๆพากันมาเที่ยวเล่นที่สวนหลังบ้าน น้องลิงก็ต้องตกตะลึงจนตาโต แล้วก็ตะโกนออกมาด้วยความดีใจ “ของวิเศษของฉัน ๆๆ ”
เพื่อนๆพากันตามน้องลิงไปยืนอยู่ที่หน้าต้นไม้ต้นหนึ่ง ก็เห็นเพียงกิ่งไม้และใบไม้ที่ทั้งยาวทั้งอ้วน กำลังงอกเป็นฝักข้าวโพดออกมา ข้าวโพดมีฝักสีทอง ข้างนอกเป็นสีเขียว สวมเสื้อผ้าหลายๆชั้น จึงจะเห็นเม็ดเล็กๆ เหมือนกับไข่มุกอยู่ต็มตัว
อ๋อ ที่แท้ของวิเศษของน้องลิงก็คือข้าวโพดแก่นี่เอง
เป็นเพราะว่าน้องลิงเอาข้าวโพดมาซ่อนแล้วก็ลืมไว้ที่สวนหลังบ้านนี่เอง มีเมล็ดข้าวโพดอยู่หนึ่งเมล็ดออกราก แตกหน่อ เติบโต ออกดอก แล้วก็ออกผลข้าวโพดฝักใหม่ออกมานี่เอง
小猴子有个好东西,一个顶好顶好的东西。
这么好的东西,可不能给别人看见,要是大家都来要,那可怎么办?
对,对,把它藏起来,藏在一个谁也找不着的地方。
第一天,小猴子把好东西藏在大树洞里。
第二天,小猴子把好东西藏在河边的石头后边。
第三天……
第四天……
藏来藏去,有一天,连小猴子自己也找不着好东西了。
“呜——呜——”小猴子着急地哭起来。
“谁看见了我的好东西?”
“好东西?你的好东西是什么样的?”一只小鸟飞来问。
小猴子说:”我的,我的好东西,它有金黄色的头发……”
小鸟一听,说:”跟我来,我见过你的好东西。”
小鸟在天上飞,小猴子跟在地上跑,飞呀飞呀,跑呀跑呀,他们来到一个山洞前。
一只狮子正伏在洞口的岩石上睡觉,他那金黄色的长头发在阳光照耀下闪闪发光。
小鸟对小猴子说,”喏,这是你的好东西。”
狮子被吵醒了,睁开疲倦的眼睛,惊奇地望着小鸟和小猴子。
小猴子忙摇头说:”这不是我的好东西。我的,我的好东西,穿了好多好多层衣服。”
一只乌龟刚好经过这里,听见小猴子的话,就说:”跟我来,我见过你的好东西。”
乌龟一扭一扭地向前爬,小猴子心急地跟在他后面,真盼望早点儿见到自己的好东西。
乌龟把小猴子带到一块空地上,指着一个东西说:”喏,这是你的好东西。”
空地上,立着一个又肥又尖的大竹笋。乌龟爬过去,剥开它的外皮,剥了一层,还有一层,竹笋鼓鼓囊囊的身子,确实是穿了好多好多层衣服。
可是小猴子摇摇头说:”这不是我的好东西,我的,我的好东西,全身长满了珍珠。”
围过来看热闹的小动物们,一个个睁大了眼睛。哇!全身长满珍珠,那可真是个好东西!不过,这么好的东西,谁也没见过,谁也帮不上小猴子的忙。
就这样,小猴子丢了他的好东西。
不过,没过几天,活泼好动的小猴子就忘了这件伤心事儿。是啊,每天有那么多伙伴来找他玩,有那么多快乐的事儿要做,谁还老想着一个丢了的东西呢?
日子一天天过去,谁也没有注意到,小猴家屋后的花园里,长出了一棵小苗。花园里长满了各种各样的花草,谁会去注意一棵不知名的小苗呢?
不过,夏季里的一天,当小猴子和他的伙伴们来到花园玩耍时,他突然惊讶地睁大了眼睛,激动地叫起来:”好东西,我的好东西。”
大家跟着小猴子跑到一棵高高的植物前,只见在那粗壮的茎杆和又长又宽的叶子之间,结着一穗穗老玉米。它们有金黄色的穗子,绿色的外衣,剥开一层层外衣,就露出了黄灿灿的珍珠一样的颗粒。
原来小猴子的好东西,是一个老玉米。
一定是小猴子把它丢在了花园里,于是,有一粒种子就在土里生根、发芽、成长、开花,结出了新的老玉米。
ผู้เขียน Yi Ming(ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง)
แปลและเรียบเรียง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ